วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เเผนที่ชีวิต 80

แผนที่ชีวิต 80 ข้อคิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วิธีการที่จะให้ทุกฝ่ายมีความปรองดองรู้รักสามัคคีอย่างยั่งยืน คือ ทำให้ปัจเจกบุคคลมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างทั่วถึงทั้งทางกายและทางใจมีความสุขสงบ ด้วยการเดินตามแผนที่ชีวิต 80 ข้อคิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระองค์ทรงประทานให้กับปวงชนชาวไทยมาตลอด ดังนี้

1. ขอบคุณข้าวทุกเม็ด น้ำทุกหยด อาหารทุกอย่าง อย่างจริงใจ
2. อย่าสวดมนต์เพื่อขอสิ่งใด นอกจากปัญญาและความกล้าหาญ
3. เพื่อนใหม่ คือ ของขวัญที่ให้กับตัวเอง ส่วนเพื่อนเก่าคือ อัญมณีที่นับวันจะเพิ่มคุณค่า
4. อ่านหนังสือธรรมะ ปีละเล่ม
5. ปฏิบัติต่อคนอื่น เช่นเดียวกับที่ต้องการให้คนอื่นปฏิบัติต่อเรา
6. พูดคำว่า "ขอบคุณ" ให้มากๆ
7. รักษาความลับให้เป็น
8. ประเมินคุณค่าของการให้อภัยให้สูง
9. ฟังให้มาก แล้วจะได้คู่สนทนาที่ดี
10. ยอมรับความผิดพลาดของตัวเองหากมีใครตำหนิ และรู้แก่ใจว่าเป็นจริง
11. หากล้มลง จงอย่ากลัวกับการลุกขึ้นมาใหม่
12. เมื่อเผชิญหน้ากับงานหนักคิดเสมอว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะล้มเหลว
13. อย่าทำงานเกินเวลาจนติดนิสัย เมื่อมันกลายเป็นนิสัยจะทำให้หมดคุณค่า ปล่อยตัวตามสบายได้ แต่อย่าถึงกับให้ดูโทรมนัก
14. จงทำตัวให้ร่าเริง คอยช่วยเหลือและทำหน้าที่ให้ดีในการงานของคุณ คุณจะพบว่าไม่มีใครมาแข่งขันกับคุณ
15. อย่าได้เป็นกังวลในเรื่องการปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ในสำนักงาน แต่เป็นกังวลกับการปล่อยชีวิตคุณเปล่าประโยชน์จะดีกว่า
16. อย่าโกรธคอมพิวเตอร์สำหรับความผิดพลาดที่คุณทำขึ้นเอง
17. ลองคิดถึงเวลาที่คุณไม่มีเงินเดือนดูบ้าง
18. จงถือว่าสุขภาพคือทรัพย์สมบัติประการแรก
19. อย่าได้ก้มหน้าก้มตาทำงานจนไม่เคยสังเกตเห็นนัก ต้นไม้ ดอกไม้ และปุยเมฆ
20. เมื่อใดที่สำนักงานทำให้คุณรู้สึกเศร้าสร้อย จงนึกเสียว่านี่เป็นเกมกีฬาสำหรับคนที่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่ และอย่าได้นำมันกลับไปบ้านด้วย
21. จำไว้ว่า ยังมีอะไรๆอีกมากในการทำงานและในชีวิต มากกว่าการทำงานให้มีชีวิตอยู่ หรือมีชีวิตอยู่เพื่อจะทำงาน
22. อย่าทำเป็นคนตรงต่อเวลา ไปถึงก่อนเวลาจะดีกว่า
23. อย่าได้หลอกตัวเองว่าการมีสิ่งของรกอยู่บนโต๊ะ หมายถึง การมีงานมากเพียงแต่หมายความว่าคุณยังไม่ได้ทำมันนั่นเอง
24. จัดเก็บโต๊ะของคุณให้เรียบร้อย บุคคลส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จจะมีโต๊ะทำงานทีว่างโล่ง
25. อย่าเป็นกังวลมากจนเกินไปว่าเพื่อนร่วมงานคิดอย่างไรกับคุณ เพราะส่วนใหญ่ในชีวิตของพวกเขา ไม่ได้คิดถึงคุณเลย
26. จงมีความเพียรอันบริสุทธิ์ สติปัญญาที่เฉียบแหลม ร่างกายที่สมบูรณ์จะนำมาซึ่งความสำเร็จ
27. จงร่ำรวยเงินสด จงหาเวลาแทนที่จะรอให้มีเวลา จงยิ้มไว้เสมอ
28. อย่าถกเถียงธุรกิจภายในลิฟต์
29. ใช้บัตรเครดิตเพื่อความสะดวก อย่าใช้เพื่อก่อหนี้สิน
30. อย่าหยิ่ง หากจะกล่าวว่า "ขอโทษ"
31. อย่าอาย หากจะบอกใครว่า "ไม่รู้"
32. ระยะทางนับพันกิโลเมตร แน่นอนมันไม่ราบรื่นตลอดทาง
33. เมื่อไม่มีใครเกิดมาแล้ววิ่งได้ จึงควรทำสิ่งต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป
34. การประหยัดเป็นบ่อเกิดแห่งความร่ำรวย เป็นต้นทางแห่งความไม่ประมาท
35. คนไม่รักเงิน คือ คนรักชีวิตไม่รักอนาคต
36. ยามทะเลาะกัน ผู้ที่เงียบก่อนคือผู้ที่มีการอบรมสั่งสอนที่ดี
37. ชีวิตนี้ฉันไม่เคยได้ทำงานเลยสักวัน ทุกวันเป็นวันสนุกหมด
38. จงใช้จุดแข็ง อย่าเอาชนะจุดอ่อน
39. เป็นหน้าที่ของเราที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจ ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่นที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่คุณพูด
40. เหรียญเดียวมี 2 หน้า ความสำเร็จกับล้มเหลว
41. อย่าตามใจตัวเอง เรื่องยุ่งๆเกิดขึ้นล้วนตามใจตัวเองทั้งสิ้น
42. ฟันร่วงเพราะมันแข็ง ส่วนลิ้นยังอยู่เพราะมันอ่อน
43. อย่าดึงต้นกล้าให้โตไวๆ
44. ระลึกถึงความตายวันละ 3 ครั้ง ชีวิตจะมีความสุขมีอภัย มีให้อยู่
45. ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกผิด กระดุมเม็ดต่อๆไปก็ผิดหมด
46. ทุกชิ้นงานจะต้องกำหนดวันเวลาแล้วเสร็จ
47. จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
48. ดาวและเดือนที่อยู่สูง อยากได้ต้องเป็นบันไดสูง
49. มนุษย์ทุกคนมีชิ้นงานมากมายในชีวิต ตงทำชิ้นงานที่สำคัญที่สุดก่อนเสมอ
50. หนังสือเป็นศูนย์รวมปัญญาของโลก จงอ่านหนังสือเดือนละเล่ม
51. ระเบียบวินัย คือคุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิต
52. อย่าทำลายความหนังของใคร เพราะเขาอาจเหลืออยู่แค่นั้นก็ได้
53. เมื่อมีคนเล่าว่าตัวเขามีส่วนในเหตุการณ์สำคัญอะไรก็ตามเราไม่ต้องไปคุยทับ ปล่อยให้เขาฟุ้งไปตามสบาย
54. รู้จักฟังให้ดี โอกาสทองบางทีมันก็มาถึงแบบแว่วๆเท่านั้น
55. หยุดอ่านคำอธิบายสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งอยู่ริมทางเสียบ้าง
56. จะคิดการใด จงคิดการให้ใหญ่ๆเข้าไว้ แต่เติมความสนุกสนานลงไปด้วยเล็กน้อย
57. หัดทำสิ่งดีๆให้กับผู้อื่นจนเป็นนิสัย โดยไม่จำเป็นต้องให้เขารับรู้
58. จำไว้ว่าข่าวทุกชนิดล้วนถูกบิดเบือนมาแล้วทั้งนั้น
59. เวลาเล่นเกมกับเด็กๆ ก็ปล่อยให้แกชนะไปเถิด
60. ใครจะวิจารณ์เราอย่างไรก็ช่าง ไม่ต้องเสียเวลาตอบโต้
61. (....ไม่มีครับ....)
62. ให้โอกาสผู้อื่นเป็นครั้งที่ 2 แต่อย่าให้ถึง 3
63. ทำตัวให้สบายๆอย่าคิดมาก ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแล้วอะไรๆมันก็ไม่ได้สำคัญอย่างที่คิดไว้ทีแรกหรอก
64. ใช้เวลาน้อยๆ ในการคิดว่าใครเป็นคนถูก แต่ใช้เวลาให้มากๆในการคิดว่าอะไรคือสิ่งที่ถูก
65. เราไม่ได้ต่อสู้กับคนโหดร้าย แต่เราต่อสู้กับความโหดร้ายในตัวคน
66. คิดให้รอบคอบก่อนให้เพื่อนต้องมีภาระในการเก็บรักษาความลับ
67. เมื่อมีใครสวมกอดคุณ ให้เขาเป็นฝ่ายปล่อยก่อน
68. เป็นคนถ่อมตน คนเขาทำอะไรต่ออะไรสำเร็จกันมามากมาแล้วตั้งแต่เรายังไม่เกิด
69. ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์อันเลวร้ายเพียงใดสุขุมเยือกเย็นเข้าไว้
70. อย่าไปหวังเลย ชีวิตนี้จะมีความยุติธรรม
71. อย่าให้ปัญหาของเราทำให้คนอื่นเขาต้องเบื่อหน่าย ถ้ามีใครถามเราว่า "เป็นยังไงบ้างตอนนี้" ก็บอกเขาไปเลยว่า "สบายมาก"
72. อย่าพูดว่า มีเวลาไม่พอเพราะเวลาที่คุณมีมันก็วันละยี่สิบสี่ชั่วโมงเท่าๆกับที่หลุยส์ ปาสเตอร์, ไมเคิล แอนแจลโล , แม่ชีเทเรซา , ลีโอนาร์โด ดาวินชี , ทอมัส เจฟฟอรสัน หรืออัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เขามีนั่นเอง
73. เป็นคนใจกล้าและเด็ดเดี่ยวเมื่อเยลวกลับไปดูอดีต เราจะเสียใจในสิ่งที่อยากทำ แล้วไม่ได้ทำมากกว่าเสียใจในสิ่งที่ทำไปแล้ว
74. ประเมินตนเองด้วยมาตรฐานของตนเอง ไม่ใช่มาตรฐานของคนอื่น
75. จริงจังและเคี่ยวเข็ญต่อตนเอง แต่อ่อนโยนและผ่อนปรนต่อผู้อื่น
76. อย่าระดมสมอง เพราะไอเดียดีๆใหม่ๆ และยิ่งใหญ่จนสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนมาจากบุคคลที่คิดค้นอยู่แต่เพียงผู้เดียวทั้งสิ้น
77. คงไว้ซึ่งความเป็นคนเปิดเผยอ่อนโยน และอยากรู้อยากเห็น
78.ให้ความนับถือแก่ทุกคนที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ว่างานที่เขาทำนั้นจะกระจอกงอกง่อยสักปานใด
79. คำนึงถึงการมีชีวิตให้กว้างขวางมากกว่าการมีชีวิตให้ยืนยาว
80. มีมารยาทและอดทนกับคนที่สูงวัยกว่าเสมอ
80 แผนที่ชีวิตข้อคิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ได้ทรงประทานให้แก่ปวงชนชาวไทยไว้ยึดถือปฏิบัติ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตประชาชนชาวไทยของพระองค์ เราจะหาพ่อที่ยิ่งใหญ่เหมือนพ่อหลวงของเราได้จากที่ไหนในโลกนี้ "บางครั้งที่เรามักจะละลืมของล้ำค่าที่อยู่ใกล้ตัวและเรามักจะเป็นคุณค่าของล้ำค่าเมื่อทุกอย่างสายไปเสียแล้ว"
ที่มาhttp://www.klonthaiclub.com/index.php?topic=5569.0

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิธีคัดเลือกแม่พันธุ์ และแม่พันธุ์ไก่

โดยปกตินักนิยมเล่นไก่ชนมักจะเลือกสีเป็นอันดับแรก ดังนั้นไก่ที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ควรเลือกจากสีดังนี้ 1. สีเหลืองหางขาว 2. สีประดู่หางดำ เดือยดำ เล็บดำ ปากดำ (หรือปากคาบแก้ว) 3. สีเขียวเลา (มีสีเขียวสลับกับสีขาวทั้งตัว หางขาวด้วย) 4. สีเขียวกา หรือเขียวแมลงภู่ (หางดำ)เพราะโบราณกล่าวไว้ว่าไก่ 4 สีนี้เป็นสีที่รักเดิมพันมาก ชนได้ราคาแพง ไม่ค่อยแพ้ ส่วนไก่ สีอื่น ๆ นักเลงเล่นไม่นิยมเล่นกัน เพราะเข้าใจว่าเป็นไก่พันธุ์ผสมมาจากสายเลือดอื่น ที่ไม่ใช่ไก่ชนแท้ อาจจะผสมกับไก่โรดส์ หรือไก่เร็คฮอนก็เป็นได้ น้ำใจไก่พวกนี้จึงไม่ทรหดมาก สำหรับแม่พันธุ์นั้นเวลาใช้ผสมพันธุ์ ควรหาให้เป็นสีเดียวกับพ่อพันธุ์ เวลาให้ลูกจะได้สีเหมือนกัน คุณสมบัติ และลักษณะของพ่อพันธุ์ไก่
นอกจากสีของไก่แล้ว พ่อไก่ควรมีคุณสมบัติ และลักษณะดังต่อไปนี้

1. ควรเป็นไก่ที่มีประวัติดี ชนชนะจากบ่อนมาแล้ว
2. ปากต้องใหญ่ มีร่องน้ำ 2 ข้างปากลึก (ปากสีเดียวกับขา)
3. นัยตาควรเป็นสีขาว
4. คอใหญ่ และปล้องคอถี่ ๆ
5. หัวปีกต้องใหญ่ และขนปีกยาว
6. นิ้วเล็กเรียวยาว
7. เม็ดข้าวสารท้องแข้งใหญ่ และแข้งกลม
8. สร้อยคอยาวติดต่อกันถึงสร้อยหลัง
9. หางยาวแข็งและเส้นเล็ก
10. กระดูกหน้าอกใหญ่และยาว
11. เดือยใหญ่ และชิดนิ้วก้อยมากที่สุด
12. อุ้งเท้าบางและเล็บยาว
13. เกล็ดแข้งใสเหมือนเล็บมือ และมีร่องลึก
ชั้นเชิงของไก่ชน
ปกติไก่ชนจะมีชั้นเชิงการต่อสู้อยู่ 2 อย่าง คือไก่ตั้ง และไก่ลง ส่วนไก่กอดนั้นเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์ไก่ตั้ง แม่พันธุ์ไก่ลง หรือพ่อพันธุ์ไก่ลง กับแม่พันธุ์ไก่ตั้ง ลูกออกมาจึงกลายมาเป็นไก่กอด ส่วนนักเลงเล่นส่วนมากชอบไก่ตั้ง เพราะการต่อสู้ของไก่ตั้งนั้นเหนื่อยช้าไม่ต้องวิ่งมาก เพราะยืนคอยดักตีอย่างเดียว แต่บางคนชอบไก่เชิง เพราะไก่เชิงไม่ค่อยเจ็บตัวเวลาเข้าชนจะลักตีขโมยตี ดังนั้นถ้าท่านจะผสมก็ควรเลือกชั้นเชิงไก่ให้เหมือนกัน กล่าวคือ ถ้าท่านชอบไก่เชิง ก็ควรหาตัวเมียที่มีชั้นเชิงเหมือนตัวผู้ ถ้าท่านชอบไก่ตั้ง ก็ควรเลือกตัวเมีย ให้ตั้งเหมือนตัวผู้ ถ้าท่านไม่เลือกชั้นเชิงให้เหมือนกันแล้ว ลูกออกมาจะเป็นไก่โง่ ควรระวังให้มาก เพราะปกติไม่ค่อยคัดเลือกไก่กัน ผสมกันเรื่อยไปจึงไม่ค่อยได้ไก่เก่ง

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การฑูต

การทูต (อังกฤษ: Diplomacy) เป็นศิลปะและทักษะการเจรจา สนทนา สื่อสาร รวมถึงการติดต่อธุระต่าง ๆระหว่างบุคคลที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการให้เป็นตัวแทนการเจรจาขององค์กรหรือประเทศ
การทูต เป็นการแสดงถึงการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างกัน ให้มีความสัมพันธ์ทางด้านต่าง ๆ ที่ประเทศนั้น ๆ มีต่ออีกประเทศหนึ่ง โดยจะมีข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การทูต เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-มาเลเซีย โดยมีท่านทูตไปประจำทั้ง 2 ประเทศ เป็นต้น หากเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ เราสามารถเรียกทูตกลับประเทศไทย หรือเรียกว่า การลดความสัมพันธ์ระหว่างกัน
บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
บุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแสดงมิตรไมตรีต่อต่างชาติ และเป็นบุคคลที่เป็นตัวแทนของรัฐนั้น ๆ เรียกว่า ทูต ซึ่ง มีการแบ่งแยกการเรียกอีกตามระดับ
บุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศร่วมกับคณะทูต มีหน้าที่ในการอารักขาทูต ซึ่งต้องขออนุญาตจากทางการของรัฐนั้นๆก่อน คือ ทหารของทูต
พนักงานที่ทำงานในสถานทูต ซึ่งมีหน้าที่ในการลงบันทึกต่าง ๆ หรือติดต่อประสานงานหลาย ๆ ฝ่าย คือ พนักงานทูต
บุคคลที่เป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ หรือ เรียกว่าทูตนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามก็จะถือว่าไม่มีความผิด ใดทั้งสินในประเทศที่ไปดำเนินการอยู่ แต่จะถูกดำเนินคดีในรัฐซึ่งตนได้รับมอบหมาย

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

องค์ประกอบของ GIS

องค์ประกอบของ GIS
องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (hardware) โปรแกรม (software) ขั้นตอนการทำงาน (methods) ข้อมูล (data) และบุคลากร (people) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น ดิจิไทเซอร์ สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ หรืออื่น ๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน
2. โปรแกรม คือชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชัน การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล, จัดการระบบฐานข้อมูล, เรียกค้น, วิเคราะห์ และ จำลองภาพ
3. ข้อมูล คือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูล โดยได้รับการดูแลจากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร
4. บุคลากร คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS
5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ
เครดิต wikipedia

ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย
เครดิตhttp://hilight.kapook.com/view/30438

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทักทาย

นาย วิธิสรรค์ปราสาททรัพย์ 50162203