วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ช้างแอฟริกา African Elephant


ลักษณะทั่วไป
เป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลักษณะคล้ายช้างเอเชียจะแตกต่างที่ใบหู ช้างแอฟริกาจะมีใบหูที่ใหญ่มากมีรูปร่างคล้ายพัดทำหน้าที่ช่วยโบกพัดเพื่อระบายความร้อน ผิวหนังมีลักษณะหยาบย่นเป็นรอยอย่างเห็นได้ชัดเจน สีผิวของมันจะไม่เป็นสีดำเหมือนช้างเอเชีย แต่มีสีน้ำตาล เนื่องจากว่าช้างแอฟริกาชอบนอนแช่ปลักโคลน เพราะฉะนั้น สีผิวของมันจึงเปลี่ยนเป็นสีเทา และที่แปลกกว่าช้างเอเชียคือ ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีงาเหมือนกัน ส่วนช้างเอเชียจะมีงาเฉพาะตัวผู้เท่านั้น


ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในทวีปแอฟริกา
ช้างแอฟริกาจะออกหาอาหารทั้งกลางวันและกลางคืน จะใช้เวลาออกหาอาหารและแหล่งน้ำวันละประมาณ 18 - 20 ชั่วโมง อาหารที่ชอบจะเป็นพวกใบไม้สดหรือแห้ง เปลือกไม้ ผลไม้ โดยมีปริมาณในวันหนึ่ง ๆ ถึง 100 - 120 กิโลกรัม กินน้ำประมาณ 80 - 150 ลิตรต่อวัน ซึ่งเมื่อเทียบกับช้างเอเชียแล้ว ช้างแอฟริกาจะกินน้อยกว่า

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ช้างแอฟริกาพร้อมที่จะผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 5-18 ปี ส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ระยะเวลาตั้งท้องนาน 22-24 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกที่เกิดใหม่ ๆ จะมีขนตามตัวยาวมาก แม่จะเลี้ยงลูกไปจนกว่าลูกอายุประมาณ 2-3 ปี ในช่วงนี้ ลูกจะกินนมแม่ไปเรื่อย ๆ พออายุประมาณ 2-3 ปี ลูกช้างจึงจะไปหากินตามลำพัง

ช้างเอเชีย



ช้างเอเชีย (Elephas maximus) มี 3 ชนิดย่อย ได้แก่



1. ช้างศรีลังกา (Elephas maximus maximus) จะมีรูปร่างขนาดใหญ่ สีกายดำ ขนาดใบหูใหญ่และมีสีกระจายมากบริเวณใบหู ใบหน้า งวงและลำตัว มักจะเป็นช้างสีดอหรือไม่มีงา เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติเฉพาะในเกาะซีลอนหรือเกาะลังกา ซึ่งในปัจจุบันเป็นประเทศศรีลังกาเท่านั้น ช้างเอเชียพันธุ์ศรีลังกาตัวผู้ หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็นช้างสีดอ คือไม่มีงาคงมีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ช้างเอเชียพันธ์ศรีลังกาตัวผู้หรือช้างพลายมีงาน้อยมาก ส่วนตัวเมียเหมือนช้งเอเชียพันธุ์อื่นคือไม่มีงาแต่มีขนายเท่านั้น


2. ช้างอินเดีย (Elephas maximus indicus) ขนาดตัวจะเล็กกว่าชนิดแรก สีตามจุดต่างๆ จางกว่า เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียได้แก่ เนปาล ภูฐาน อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียตนาม กัมพูชา แคว้นยูนานประเทศจีน และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยนั้นมีช้างเอเชียพันธุ์อินเดียกระจัดกระจายอยู่ในป่าตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ

3. ช้างสุมาตรา (Elephas maximus sumatranus) มีขนาดตัวเล็กที่สุด สีผิวจางมากที่สุด พบในมาเลเซีย สุมาตรา

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

การอุปสมบท

การอุปสมบท คือการบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือเป็นการตอบแทนพระคุณของบิดามารดา และเป็นการสร้างกุศลอย่างหนึ่ง ทั้งยังเป็นการดำรงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ ผู้ที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จะต้องมีอายุตั้งแต่ ๒๐ ปีขึ้นไป และมีคุณสมบัติครบบริบูรณ์ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะพาไปหา เจ้าอาวาสหรือพระอุปัชฌาย์เพื่อกำหนดวันเวลาในการบวชและฝึกซ้อมการปฏิบัติตนตลอดจนท่องจำ ค่ำขอบรรพชาอุปสมบท นอกจากนี้จะต้องเตรียมจัดหาเครื่องอัฐบริขารไว้ให้พร้อม ได้แก่ บาตร สบง จีวร สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) มีดโกน เข็ม ด้าย ผ้าคาดเอว หม้อกรองน้ำ และจัดเตรียมเครื่องใช้ที่จำเป็น สำหรับผู้บวช เช่น เสื่อ หมอน ขันน้ำ ช้อน ส้อม เป็นต้น
ก่อนบวช ผู้บวชจะนำดอกไม้ธูปเทียนแพใส่พานไปขอสมาลาโทษแก่บรรดาญาติมิตรตลอดจนผู้ที่เคารพ นับถือเพื่อลาบวช เป็นการแสดงความเคารพและเพื่อขอขมาโทษที่เคยมีต่อกัน ก่อนถึงวันงานหนึ่งวันเรียกว่า วันสุกดิบ ผู้บวชจะต้องโกนคิ้ว โกนผม โกนหนวด นุ่งเยียรบับ สวมเสื้อครุยเรียบร้อย ตอนค่ำมีการทำขวัญนาคโดยหมอขวัญจะทำขวัญนาคซึ่งเป็นบทสวดคล้ายเทศน์มหาชาติพรรณนาถึง บุญคุณของพ่อแม่และอานิสงส์ของการบวชให้นาคตลอดจนญาติพี่น้องฟัง เมื่อทำขวัญเสร็จจะมีการ เบิกบายศรีและเวียนเทียนโบกควันให้นาค

รุ่งขึ้นเมื่อถึงวันงานมีการแห่นาคออกจากบ้านไปวัด มีการจัดขบวนแห่กลองยาวเถิดเทิงหรือแตรวงเป็นที่ สนุกสนานครึกครื้น ญาติพี่น้องและผู้ร่วมงานจะช่วยถือเครื่องอัฐบริขารและเครื่องไทยธรรม มารดา อุ้มไตรจีวร บิดาอุ้มบาตรและถือตาลปัตร ส่วนนาคจะเดิน นั่งรถ ขี่คอคน ขี่ช้างหรือม้าก็ได้ เมื่อขวนแห่ถึงวัดแล้วมักแห่เวียนขวารอบพระอุโบสถ ๓ รอบ นาคจะนำดอกไม้ธูปเทียนที่ถือมา เข้าไปบูชาพัทธสีมาหน้าโบสถ์เป็นการสักการะพระประธานในโบสถ์ หลังจากนั้นพ่อแม่จะจูงนาคเข้าไป ในพระอุโบสถ นาครับผ้าไตรจีวรอุ้มเข้าขอพรรพชาเป็นสามเณรต่อพระอุปัชฌาย์แล้ว ออกมาครอบผ้า แล้วจึงเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุต่อ

เกาะหลัก

การตรวจระดับน้ำในประเทศไทยเริ่มมีบันทึกไว้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยการว่าจ้างชาวยุโรปชื่อ มิสเตอร์ มาสเตอร์ (Mr"Master) เมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช 2453 ให้ทำการสร้างสถานีวัดระดับน้ำแบบถาวรขึ้น ที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในตำบลที่ละติจูด 99 องศา 46 ลิปดา ตะวันออก โดยสร้างเสร็จในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เริ่มใช้เครื่องมือเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2453 และทำการตรวจวัดระดับน้ำทะเลขึ้น - ลง อย่างต่อเนื่อง จนถึงเดือนเมษายน พุทธศักราช 2454 รวม เวลาตรวจวัดประมาณ 6 เดือน จากนั้นนำผลที่ได้มาคำนวณหาค่าเฉลี่ย ซึ่งถือเป็นเส้นเกณฑ์หนึ่งเรียกว่าระดับทะเลปานกลาง (Mean Sea Level) และกำหนดให้ระดับทะเลปานกลางมีค่าเป็นศูนย์ จากเส้นเกณฑ์ดังกล่าวและได้ทำการโยงถ่ายค่าไว้ที่หมุดระดับชายฝั่ง ของเกาะหลัก ซึ่งสร้างเป็นรอยบากบนหินทรายและให้ชื่อหมุดระดับนี้ว่า BMA มีค่าสูงกว่าระดับทะเลปานกลางที่ได้คำนวณไว้ 1.4439 เมตร ซึ่งหมุดนีถือว่าเป็นหมุดระดับแรกที่กำหนดให้เป็นเส้นเกณฑ์มาตรฐาน ในการโยงระดับความสูงของประเทศไทย
หลังจากการจัดทำหมุด BMA แล้ว การจตรวจวัดระดับน้ำที่เกาะหลักยังดำเนินต่อไปจนถึงเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2458 รวมระยะเวลาตรวจวัด 5 ปี จึงได้มีการนำเอาค่าระดับน้ำที่บันทึกได้มาคำนาณหาค่าเฉลี่ยใหม่อีกครั้ง ผลที่ได้ปรากฏว่าระดับทะเล ปานกลางใหม่ต่ำกว่าเดิม 0.0038 เมตร ค่าของหมุด BMA จึงเปลี่ยเป็นสูงกว่าระดับทะเลปานกลางที่เกาะหลัก 1.4477 เมตร ระดับทะเลปานกลางใหม่นี้ ได้ใช้เป็นระดับทะเลปานกลาง ของประเทศไทย และจากหมุด BMA นี้ กรมแผนที่ทหารกองบัญชาการ ทหารสูงสุด ได้ทำการโยงระดับถ่ายค่าไปยังหมุดระดับต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อใช้ เป็นพื้นเกณฑ์ ในงานสำรวจแผนที่ทั้งบนบกและ ในทะเล งานวิศวกรรมชายฝั่ง งานก่อสร้างและอื่นๆ หลังจากปีพุทธศักราช 2458 ได้ยกเลิกการตรวจวัดระดับน้ำที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และไม่มีการตรวจวัดระดับน้ำที่อื่นๆอีก
ในปีพุทธศักราช 2482 การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มการตรวจวัดระดับน้ำ ที่เกาะหลักขึ้นมาใหม่ โดยสร้างเรือนสถานีบริเวณชายฝั่งเกาะหลักที่ละติจูด 11 องศา 47 ลิปดา 42 พิลิปดา เหนือ ลองจิจูด 99 องศา 58 ลิปดา 58 ฟิลิปดา ตะวันออก โดยมี เรือเอก สนิท มหาคีตะ สังกัด กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เป็นผู้อำนวยการสร้าง และติดตั้งเครื่องวัดระดับน้ำตราอักษร A.OTT หมายเลข 2841 ซึ่งจัดซื้อจากบริษัท A.OTT Krmpten ประเทศเยอรมันนีในราคา 548.17 บาท เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2481โดยสร้างสถานีวัดระดับน้ำเสร็จเรียบร้อย และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2482 พร้อมกับโอนให้อยู่ในความดูแลของกองสมุทรศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ หลังจากนั้นได้มีการซ่อมปรับปรุงตัวเรือนสถานี เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พุทธศักราช 2491 และวันที่ 14 กรกฎาคม พุทธศักราช 2504

ต่อมาได้สร้างเรือนสถานีใหม่ทดแทนของเดิม เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พุทธศักราช 2522 และติดตั้ง เครื่องวัดระดับน้ำชนิดทำงานด้วยการเปลี่ยนแปลงความกดดันน้ำ (Pressure Tide Gauge) เพิ่มอีกระบบหนึ่งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2548

ทะเลแหวก UNSEEN IN THAILAND





ทะเลแหวก เป็นเกาะ 3 เกาะเด่น เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำลดลงต่ำสุดในแต่ละวัน เหมือน
ทะเลแหวกออกจากกันจนกลายเป็นหาดทรายขาว โดยเชื่อมกันทั้งสามเกาะอย่างน่า
อัจศจรรย์ โดยจะเกิดเฉพาะในวันก่อนและหลังวันขึ้น 15 ค่ำ ราว 5 วัน ช่วงฤดูกาล
ท่องเที่ยวคือช่วงเดือน ธันวาคม ถึงต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี ด้วยหาดทรายที่
ขาวสะอาด ทอดยาว ความสวยงามของทั้งสามเกาะนี้นับเป็น UNSEEN IN THAILAND
อีกแห่งหนึ่งของป่ระเทศไทย นอกจากนี้ที่เกาะไก่ และเกาะทับเป็นจุดดำน้ำตื้นที่น่าชม
โดยเกาะไก่เป็นจุดดำน้ำอยู่ที่บริเวณด้านทิศตะวันตก และที่เกาะทับมีแนวปะการัง
ที่สวยงามอยู่ทางด้านทิศตะวันออก

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

· เริ่มสวด นโม 3 จบ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะนะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
· นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐานปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
· เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร
1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณโกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโลกัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโรนิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
7. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโกโส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลีเถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกาเอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสาชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกังธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
12. ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตาวาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสาวะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโขชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโวธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆสังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโยสัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

กล่องดำ

กล่องดำ แท้จริงมีอยู่หลายสี ไม่เฉพาะสีดำ สีที่เห็นกันบ่อย คือสีส้ม เพื่อให้ค้นหาง่ายหากเครื่องบินตก แต่ไม่นิยมเรียกว่า กล่องส้ม จะรวมๆ เรียกว่า กล่องดำ ซึ่งอาจมีที่มาจากคำว่า Black Box ที่หมายถึงกล่องซึ่งเราไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ในนั้น หรือกล่องปริศนานั่นเอง
เครื่องบินแต่ละลำจะมีกล่องดำ 2 กล่องกล่องหนึ่งใช้บันทึกข้อมูลการบิน สภาพอากาศ ความเร็ว ระดับความสูง การเร่งผ่อนคันบิดปิดเปิดน้ำมัน แรงขับของเครื่อง และตำแหน่งของปีก
อีกกล่องบันทึกเสียงสนทนาในห้องนักบิน การติดต่อระหว่างนักบินกับหอบังคับการบิน เสียงของลูกเรือที่เข้ามาในห้องนักบิน โดยจะเริ่มบันทึกตั้งแต่นักบินติดเครื่องไปจนถึงดับเครื่อง
เวลาเครื่องบินตก กล่องดำมักไม่เสียหาย เพราะตำแหน่งที่ติดตั้งจะอยู่ส่วนหางของเครื่องบิน ซึ่งเป็นบริเวณที่แข็งแรงและได้รับผลกระทบกระเทือนน้อยที่สุดเวลาเครื่องบินตก
นอกจากนี้ ตัวกล่องยังแข็งแรง ทนแรงกระแทกแรงระเบิด ทนน้ำ ทนไฟ เพราะประกอบด้วยวัสดุ 3 ชั้น ชั้นในสุดทำจากแผ่นอะลูมิเนียมบางๆ ห่อหุ้มอุปกรณ์บันทึกข้อมูลไว้ ชั้นที่สองเป็นฉนวนทนความร้อน และชั้นที่สามทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิมทนความร้อนสูง
โลกเริ่มมีการนำกล่องดำมาใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2493