วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง

ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง (อังกฤษ: Location theory) เป็นทฤษฎีว่าด้วยทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนของภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ (economic geography) ภูมิภาควิทยา (regional science) และ เศรษฐศาสตร์เชิงพื้นที่ (spatial economics) ทฤษฎีทำเลที่ตั้งอธิบายถึงเหตุผลที่ว่าเหตุใดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเฉพาะประเภทหนึ่งจึงไปตั้งอยู่เฉพาะ ณ ที่แห่งหนึ่ง เช่นเดียวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค - ทฤษฎีทำเลที่ตั้งอาศัยสมมุติฐานที่ว่าผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบริษัทและบุคคลทำไปก็เพื่อประโยชน์ของตนเองจึงได้เลือกทำเลที่ตั้งที่จะทำให้เกิดผลกำไรมากที่สุด คือการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค
มีหลายคนที่ควรได้รับการยกย่องในการให้กำเนิดทฤษฎีนี้ (เช่น ริชาร์ด แคนทิลลอน, Etienne Bonnot de Condillac, เดวิด ฮูม, เซอร์เจมส์ สจวต, และเดวิด ริคาโด) แต่เมื่อจนกระทั่ง โจฮันน์ ไฮน์ริช วอน ทูเนน (Johann Heinrich von Thünen) ได้ตีพิมพ์หนังสือ Der Isolierte Staat เล่มแรกขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2369 จึงจะนับได้ว่าทฤษฎีทำเลที่ตั้งได้เริ่มมีตัวตนชัดเจนขึ้น ความจริงแล้ว วอลเตอร์ ไอสาร์ด (Walter Isard) นักภูมิภาควิทยา (regional scientist) ได้ยกย่องให้ทูเนนว่าเป็น “บิดาแห่งนักทฤษฎีทำเลที่ตั้ง” ในหนังสือเล่มดังกล่าว ทูเนนให้ข้อสังเกตว่าค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าเป็นตัวการที่ทำให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจตาม ทฤษฎีของริคาโด ลดลง ทูเนนให้ข้อสังเกตอีกด้วยว่า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งและผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจที่มีความผันแปรไปตามประเภทของสินค้า ตามประเภทการใช้ที่ดินและความเข้มในการใช้การขนส่งนี่เองเกิดจากระยะทางของแหล่งผลิตสินค้ากับตลาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น