วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

father of geography

เอราทอสเทนีส นักภูมิศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งภูมิศาสตร์” (father of geography) เนื่องจากว่า ระหว่างที่ปราชญ์ท่านอื่นให้ความสนใจต่อการบรรยายทางภูมิศาสตร์อยู่นั้น เอราทอสเทนีส เป็นคนแรกที่ใช้คำว่าภูมิศาสตร์และเรียกตัวเองว่าเป็นนักภูมิศาสตร์ (geographer) และจากการสังเกตพบว่างานทางภูมิศาสตร์ที่ผ่านมาทั้งหลายไม่ได้เกิดจากนักภูมิศาสตร์ที่แท้จริง นอกจากนี้ปราชญ์ผู้ศึกษาปรากฏการณ์เองก็ไม่ได้มีเป้าหมายในการอธิบายในเชิงภูมิศาสตร์ กล่าวกันว่า เขามีแนวทางในการศึกษาโดยมุ่งเน้นว่า โลกเป็นที่อยู่อาศัยของมวลมนุษย์ โดยเป็นคนแรกที่ค้นคิดหาวิธีการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ต่างได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ จากการพิจารณาความสัมพันธ์ของที่ตั้งของเทหะวัตถุบนท้องฟ้า หรือจุดตำแหน่งบนพื้นผิวโลกกับการเคลื่อนที่ของเทหะวัตถุ ทั้งนี้ การคิดค้นระบบเส้นกริดอย่างหยาบๆ ของ เอราทอสเทนีส ทำโดยการแบ่งโลกออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเส้นสมมุติลากผ่านเมืองสำคัญและลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่น ระบบเส้นกริดนี้ใช้เป็นกรอบสำหรับสร้างแผนที่และการกำหนดที่ตั้ง ทำให้แผนที่มีความถูกต้องยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง

ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง (อังกฤษ: Location theory) เป็นทฤษฎีว่าด้วยทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนของภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ (economic geography) ภูมิภาควิทยา (regional science) และ เศรษฐศาสตร์เชิงพื้นที่ (spatial economics) ทฤษฎีทำเลที่ตั้งอธิบายถึงเหตุผลที่ว่าเหตุใดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเฉพาะประเภทหนึ่งจึงไปตั้งอยู่เฉพาะ ณ ที่แห่งหนึ่ง เช่นเดียวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค - ทฤษฎีทำเลที่ตั้งอาศัยสมมุติฐานที่ว่าผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบริษัทและบุคคลทำไปก็เพื่อประโยชน์ของตนเองจึงได้เลือกทำเลที่ตั้งที่จะทำให้เกิดผลกำไรมากที่สุด คือการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค
มีหลายคนที่ควรได้รับการยกย่องในการให้กำเนิดทฤษฎีนี้ (เช่น ริชาร์ด แคนทิลลอน, Etienne Bonnot de Condillac, เดวิด ฮูม, เซอร์เจมส์ สจวต, และเดวิด ริคาโด) แต่เมื่อจนกระทั่ง โจฮันน์ ไฮน์ริช วอน ทูเนน (Johann Heinrich von Thünen) ได้ตีพิมพ์หนังสือ Der Isolierte Staat เล่มแรกขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2369 จึงจะนับได้ว่าทฤษฎีทำเลที่ตั้งได้เริ่มมีตัวตนชัดเจนขึ้น ความจริงแล้ว วอลเตอร์ ไอสาร์ด (Walter Isard) นักภูมิภาควิทยา (regional scientist) ได้ยกย่องให้ทูเนนว่าเป็น “บิดาแห่งนักทฤษฎีทำเลที่ตั้ง” ในหนังสือเล่มดังกล่าว ทูเนนให้ข้อสังเกตว่าค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าเป็นตัวการที่ทำให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจตาม ทฤษฎีของริคาโด ลดลง ทูเนนให้ข้อสังเกตอีกด้วยว่า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งและผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจที่มีความผันแปรไปตามประเภทของสินค้า ตามประเภทการใช้ที่ดินและความเข้มในการใช้การขนส่งนี่เองเกิดจากระยะทางของแหล่งผลิตสินค้ากับตลาด

ปราสาทตาเมือนธม

ปราสาทตาเมือนธม (อังกฤษ: Prasat Ta Muen Thom) ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงเร็ก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 18 ตำบลบ้านตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน

ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม (ธม เป็นภาษาเขมร แปลว่า ใหญ่) ตัวปราสาทอยู่บนเนินเขาสร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสยัมภูศิวลึงค์ และเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมตัวปราสาทตาเมือนธม หันหน้าไปทางทิศใต้ ผิดแผกจากแห่งอื่นซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก รับกับเส้นทางที่มาจากเขมรต่ำผ่านมาทางช่องทางตาเมือนนี้

ปราสาทตาเมือนธมประกอบด้วยปราสาทประธาน มีอาคารอื่น คือปรางค์ก่อด้วยหินทรายสองหลัง อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทประธาน มีบรรณาลัยศิลาแลงสองหลัง และนอกระเบียงคดทางทิศเหนือ มีสระน้ำขนาดเล็กสองสระ ปราสาทแห่งนี้อยู่ใกล้เขตชายแดนเขมรมากที่สุด การเที่ยวชมจึงควรอยู่เฉพาะภายในเขตปราสาทเท่านั้น ไม่ควรเดินออกไปไกลจากแนวต้นไม้รอบปราสาทเพราะพื้นที่นี้ยังไม่ปลอดภัยนัก

AUTOCAD

AUTOCAD คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการออกแบบ เขียน แบบ และผลิตงานออกแบบที่เกี่ยวข้องได้ในเกือบทุกประเภท เช่น ตั้งแต่งานแผนผังแบบชิ้นเล็ก ๆ จนกระทั่งงานใหญ่ ๆ จนถึงแผนที่โลก ด้วยความไม่มีขีดจำกัดใด ๆ
AUTOCAD เป็นโปรแกรมที่ใช้กันอย่างกว้างขวางและจะเห็นได้ชัดในการนำไปใช้งานออกแบบทางสถาปัตยกรรม, วิศวกรรม, งานสำรวจ, ตกแต่งภายใน, แผนที่ ตลอดจนงานออกแบบผลิต-ภัณฑ์และเครื่องกล ฯลฯ และต่อไป
AUTOCAD นี้ จะเป็นตัวหลักในการผลิตผลงานการออกแบบทั้งหมดในอนาคต และเป็นที่ยอมรับสำหรับคนทั่วโลก
ในเรื่องของมาตรฐานการออกแบบโดยทั่วไป ซึ่งความสามารถของโปรแกรม AUTOCAD นั้น จะทำได้ตั้งแต่งานในระบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ตลอดจนเป็นพื้นฐานของการนำไปสู่การสร้างงาน ANIMATION (ภาพเคลื่อนไหว) และการนำเสนองาน (PRESENTATION) ในรูปแบบต่าง ๆ ในขั้นตอนต่อ ๆ ไปที่สูงขึ้น และใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน

ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี

ข้อปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหว

ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
1.เตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น ถ่านไฟฉาย ไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง น้ำดื่ม น้ำใช้ อาหารแห้ง ไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับหรือกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
2.จัดหาเครื่องรับวิทยุ ที่ใช้ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ สำหรับเปิดฟังข่าวสารคำเตือน คำแนะนำและสถานการณ์ต่าง ๆ
3.เตรียมอุปกรณ์นิรภัย สำหรับการช่วยชีวิต
4.เตรียมยารักษาโรค และเวชภัณฑ์ให้พร้อมที่จะใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
5.จัดให้มีการศึกษาถึงการปฐมพยาบาล เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรืออันตรายให้พ้นขีดอันตรายก่อนที่จะถึงมือแพทย์
6.จำตำแหน่งของวาล์ว เปิด-ปิดน้ำ ตำแหน่งของสะพานไฟฟ้า เพื่อตัดตอนการส่งน้ำ และไฟฟ้า
7.ยึดเครื่องเรือน เครื่องใช้ไม้สอย ภายในบ้าน ที่ทำงาน และในสถานศึกษาให้ความมั่นคงแน่นหนา ไม่โยกแยกโคลงแคลงไปทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
8.ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ไว้ในที่สูง เพราะอาจร่วงหล่นมาทำความเสียหายหรือเป็นอันตรายได้
9.เตรียมการอพยพเคลื่อนย้าย หากถึงเวลาที่จะต้องอพยพ
10.วางแผนป้องกันภัยสำหรับครอบครัว ที่ทำงาน และสถานที่ศึกษา มีการชี้แจงบทบาทที่สมาชิกแต่ละบุคคลจะต้องปฏิบัติ มีการฝึกซ้อมแผนที่จัดทำไว้ เพื่อเพิ่มลักษณะและความคล่องตัวในการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
ขณะเกิดแผ่นดินไหว
1.ตั้งสติ อยู่ในที่ที่แข็งแรงปลอดภัย ห่างจากประตู หน้าต่าง สายไฟฟ้า เป็นต้น
2.ปฏิบัติตามคำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัด ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป
3.ไม่ควรทำให้เกิดประกายไฟ เพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟ อาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก
4.เปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำแนะนำคำเตือนต่าง ๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง
5.ไม่ควรใช้ลิฟต์ เพราะหากไฟฟ้าดังอาจมีอันตรายจากการติดอยู่ภายใต้ลิฟต์
6.มุดเข้าไปนอนใต้เตียงหรือตั่ง อย่าอยู่ใต้คานหรือที่ที่มีน้ำหนักมาก
7.อยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งปรักหักพังร่วงหล่นลงมา
8.อยู่ห่างจากสิ่งที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
9.ให้รีบออกจากอาคารเมื่อมีการสั่งการจากผู้ที่ควบคุมแผนป้องกันภัย หรือผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้
10.หากอยู่ในรถ ให้หยุดรถจนกว่าแผ่นดินจะหยุดไหวหรือสั่นสะเทือนหลังเกิดแผ่นดินไหว
11.ตรวจเช็คการบาดเจ็บ และการทำการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาต่อไป
12.ตรวจเช็คระบบน้ำ ไฟฟ้า หากมีการรั่วซึมหรือชำรุดเสียหาย ให้ปิดวาล์ว เพื่อป้องกันน้ำท่วมเอ่อ ยกสะพานไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าช็อต
13.ตรวจเช็คระบบแก๊ส โดยวิธีการดมกลิ่นเท่านั้น หากพบว่ามีการรั่วซึมของแก๊ส (มีกลิ่น) ให้เปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจากอาคาร แจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนผู้ที่รับผิดชอบได้ทราบในโอกาสต่อไป
14.เปิดฟังข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำ จากทางราชการโดยตลอด
15.ไม่ใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น
16.อย่ากดน้ำล้างส้วม จนกว่าจะมีการตรวจเช็คระบบท่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะอาจเกิดการแตกหักของท่อในส้วม ทำให้น้ำท่วมเอ่อหรือส่งกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
17.ออกจากอาคารที่ชำรุดโดยด่วน เพราะอาจเกิดการพังทลายลงมา
18.สวมรองเท้ายางเพื่อป้องกันสิ่งปรักหักพัง เศษแก้ว เศษกระเบื้อง
19.รวมพล ณ ที่หมายที่ได้ตกลงนัดหมายกันไว้ และตรวจนับจำนวนสมาชิกว่าอยู่ครบหรือไม่
11.ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย และผู้ไม่มีหน้าที่หรือไม่เกี่ยวข้อง ไม่ควรเข้าไปในบริเวณนั้น ๆ หากไม่ได้รับการอนุญาต
12.อย่าออกจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นใต้น้ำซัดฝั่งได้ แม้ว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม

การวัดระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว

1.มาตราริคเตอร์
ขนาดและความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง

1-2.9 เล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการมาของคลื่น มีอาการวิงเวียนเพียงเล็กน้อยในบางคน
3-3.9 เล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเขย่าอาคารให้สั่นสะเทือน
4-4.9 ปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5-5.9 รุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6-6.9 รุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0ขึ้นไป เกิดการสั่นสะเทือนอย่างมากมาย ส่งผลทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เสียหายอย่างรุนแรง แผ่นดินแยก วัตถุบนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น
2.มาตราเมอร์แคลลี่
อันดับที่และลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ

I อ่อนมาก ผู้คนไม่รู้สึก ต้องทำการตรวจวัดด้วยเครื่องมือเฉพาะทางเท่านั้น
II คนที่อยู่ในตึกสูง ๆ เริ่มรู้สึกเพียงเล็กน้อย
III คนในบ้านเริ่มรู้สึก แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก
IV ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างมาทำให้บ้านสั่นเบา ๆ
V คนส่วนใหญ่รู้สึก ของเบาในบ้านเริ่มแกว่งไกว
VI คนส่วนใหญ่รู้สึก ของหนักในบ้านเริ่มแกว่งไหว
VII คนตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มมีรอยร้าว
VIII อาคารธรรมดาเสียหายอย่างมาก
IX สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดีตามหลักวิศวกรรม เสียหายมาก
X อาคารพัง รางรถไฟงอเสียหาย
XI อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน พื้นดินอ่อน
XII ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน

หินภูเขาไฟ

หินภูเขาไฟ (Volcanic rock)หรือ หินอัคนีพุ (Extrusive rock) เกิดขึ้นเมื่อหินร้อนเหลวหรือแมกมาถูกดันและปะทุออกมานอกเปลือกโลก ซึ่งอาจจะออกมาตามรอยแตก หรือระเบิดออกมาเป็นภูเขาไฟกลายเป็นลาวา ลาวาจะเย็นตัวอย่างรวดเร็ว และแข็งตัวเป็นหินซึ่งมีผลึกขนาดเล็กถึงเล็กมาก ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นรูปของผลึกด้วยตาเปล่า ลาวาที่ถูกขับมาจากส่วนลึกของเปลือกโลกจะประกอบด้วยแร่ที่มีธาตุเหล็กและแมกนีเซียมสูง เมื่อแข็งตัวก็จะได้หินภูเขาไฟสีดำ ลาวาที่ถูกขับออกมาจากเปลือกโลกในระดับความลึกไม่มากนัก จะกลายเป็นหินภูเขาไฟสีอ่อน การปะทุขึ้นมาของแมกมาเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ได้แก่

1.การปะทุแบบไม่รุนแรง
2.การปะทุแบบรุนแรง
การปะทุแบบไม่รุนแรง
การปะทุแบบไม่รุนแรง เป็นการปะทุตามปล่องหรือรอยแตก รอยแยกของแผ่นเปลือกโลกลาวาไหลหลากเอ่อล้นไป ตามลักษณะภูมิประเทศ ลาวาจะถ่ายโอนความร้อนให้กับบรรยากาศภายนอกอย่างรวดเร็ว ทำให้อะตอมของธาตุ ต่าง ๆ มีเวลาน้อยในการจับตัวเป็นผลึก หินลาวาหลากจึงประกอบด้วยแร่ที่มีผลึกขนาดเล็กหรือเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นและจำแนกผลึกได้ด้วยตาเปล่า เช่น หินไรโอไลต์(Ryolite), หินแอนดีไซต์(Andesite), หินบะซอลต์(Basalt)

หินไรโอไลต์ (Ryolite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดมาก มีปริมาณซิลิกามากกว่า 66 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อละเอียดซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็ก มีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต แต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีชมพู และสีเหลือง

หินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดปานกลาง มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 52-66 เปอร์เซ็นต์ เกิดในลักษณะเดียวกับหินไรโอไรต์ แต่มีองค์ประกอบของแมกนีเซียมและเหล็กมากกว่า จึงมีสีเขียวเข้ม

หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดน้อย มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 45-52 เปอร์เซ็นต์ มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาใต้เปลือกโลก หินบะซอลต์หลายแห่งในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณี (พลอยชนิดต่างๆ) เนื่องจากแมกมาดันผลึกแร่ซึ่งอยู่ลึกใต้เปลือกโลก ให้โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิว

หินออบซีเดียน (Obsedian) เป็นหินอัคนีพุชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วจนผลึกมีขนาดเล็กมากจนถึงไม่มีเลย หินออบซีเดียนเป็นหินอัคนีพุที่มีเนื้อแก้วสีดำ
การปะทุแบบรุนแรง
การปะทุแบบรุนแรง เป็นการปะทุแบบระเบิด เกิดตามปล่องภูเขาไฟ ขณะที่แมกมาเกิดปะทุพ่นขึ้นมาด้วยแรง ระเบิดพร้อมกับฝุ่น ก๊าซ เถ้า ไอน้ำ และชิ้นวัตถุที่มีรูปร่างขนาดต่างๆ กันกระเด็นขึ้นไปบนอากาศ ชิ้นวัตถุเหล่านี้อาจเป็นเศษหินและแร่ เย็นตัวบนผิวโลกตกลงมาสะสมตัวทำให้เกิดแหล่งสะสมชิ้นภูเขาไฟ เมื่อแข็งตัวจะเป็นหินชิ้นภูเขาไฟหรือหินตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic rock)ได้แก่ หินทัฟฟ์ (tuff), หินแอกโกเมอเรต (agglomerate), หินพัมมิซ (Pumice), หินสคอเรีย (Scoria), หินออบซีเดียน(Obsedian) เป็นต้น

หินทัฟฟ์ (Tuff) เป็นหินเถ้าภูเขาไฟ พบมากในบริเวณที่ราบภาคกลาง โดยพบเป็นบริเวณแคบทางด้านตะวันตกตั้งแต่ด้านตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานี จนถึงด้านตะวันออกของจังหวัดนครสวรรค์, บริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ และบริเวณฝั่งทะเลภาคตะวันออก

หินแอกโกเมอเรต(Agglomerate)

หินพัมมิซ (Pumice) เป็นหินแก้วภูเขาไฟชนิดหนึ่งซึ่งมีฟองก๊าซเล็กๆ อยู่ในเนื้อมากมายจนโพรกคล้ายฟองน้ำ มีส่วนประกอบเหมือนหินไรโอไลต์ มีน้ำหนักเบา ชาวบ้านเรียกว่า หินส้ม ใช้ขัดถูภาชนะทำให้มีผิววาว

หินสคอเรีย (Scoria)เป็นหินแข็ง สาก เปราะ เบา และมีรูพรุน ไม่ทนต่อการสึกกร่อน ใช้ทำหินสำหรับขัด

ภูเขาไฟ

ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐาน (โดยทั่วไป คือ ภูเขา) ที่หินหนืด (หินภายในโลกที่ถูกหลอมเหลวด้วยความดันและอุณหภูมิสูง) ปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ แม้ว่าเราจะสามารถพบภูเขาไฟได้หลายแห่งบนดาวเคราะห์หินและดาวบริวารในระบบสุริยะ แต่บนโลก ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า ภูเขาไฟจุดร้อน

วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology)
การจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่าง
ปกติจะมีการจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่าง ตามส่วนประกอบที่ทำให้เกิด และชนิดของการประทุ โดยสรุปแล้วเราจะจำแนกภูเขาไฟได้ 3 ลักษณะคือ
1.กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composit Cone Volcano) เป็นภูเขาไฟซึ่งเกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกระทันหัน ภูเขาไฟชนิดนี้ที่มีชื่อ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ (ญี่ปุ่น), ภูเขาไฟมายอน (ฟิลิปปินส์) และ ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน (สหรัฐฯ)
2.ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่ โดยพื้นฐานแล้วภูเขาไฟชนิดนี้เกิดจาก ลาวาชนิดบาซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ เช่น ภูเขาไฟ Muana Loa (ฮาวาย)
3.กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone) ภูเขาไฟชนิดนี้จะสูงชันมาก และเกิดจากลาวาที่พุ่งออกมาทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูง การไหลไม่ต่อเนื่อง และมีลักษณะเป็นลาวาลูกกลมๆ ที่พุ่งออกมาจากปล่องเดี่ยว และทับถมกันบริเวณรอบปล่อง ทำให้ภูเขาไฟชนิดนี้ไม่ค่อยก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตมากมาย

เศรษฐศาสตร์มหภาค

เศรษฐศาสตร์มหภาค (อังกฤษ: Macroeconomics) เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลผลิตรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น(GNP) และการว่าจ้างงาน จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ผลิตผลรวมและระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาค
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาค เนื่องจากเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน ดังนั้นเศรษฐศาสตร์มหภาคจึงมีความสำคัญดังนี้

1.ประชาชนทั่วไป ประชาชนเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้ามีความเข้าใจในภาวะเศรษฐกิจก็จะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที และจะช่วยให้ประชาชนเข้าใจและสามารถที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลได้อย่างดียิ่งขึ้น

2.ผู้ประกอบการ ไม่ว่าผู้ประกอบการอาชีพใดก็ต้องอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ในการประกอบการตัดสินใจบริหารงานต่างๆ ซึ่งจะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้ และเป็นการลดความเสียงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย

3.เครื่องมือวิเคราะห์ สำหรับผู้ที่มีความรู้ในทางเศรษฐศาสตร์ในระดับสูงในทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มหภาค เกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ วัฎจักรเศรษฐกิจ การเงินและการธนาคาร การคลังรัฐบาล การค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ จะเป็นเครื่องมือขึ้นต้นประกอบการวิเคราะห์เศรษฐกิจในขั้นต่อไป

เศรษฐศาสตร์จุลภาค

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (อังกฤษ: Microeconomics) เป็นเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด[1] โดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาว่าพฤติกรรมและการตัดสินใจเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา และในทางกลับกัน ราคากำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการอย่างไร[2][3]

จุดประสงค์หนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการวิเคราะห์กลไกตลาดซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาเปรียบเทียบระหว่างสินค้าและบริการ และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อใช้ในทางเลือกต่าง ๆ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาเกี่ยวกับความล้มเหลวของตลาด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กลไกตลาดไม่สามารถทำให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพได้ และยังอธิบายเกี่ยวกับข้อแม้ทางทฤษฎีที่จำเป็นต่อการเกิดการแข่งขันสมบูรณ์ สาขาที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่นดุลยภาพทั่วไป ตลาดภายใต้ความไม่สมมาตรของข้อมูล การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมในทางเศรษฐศาสตร์
สมมติฐานและนิยาม
ในทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานมักตั้งสมมติฐานไว้ว่าตลาดเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงการที่มีผู้ขายและผู้ซื้อในตลาดมากมาย และไม่มีใครสามารถส่งผลให้ราคาของสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงได้ (แต่ในโลกความเป็นจริง สมมติฐานนี้มักไม่เป็นจริงเพราะผู้ซื้อหรือผู้ขายบางคนหรือบางกลุ่มมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงราคาได้) ในการวิเคราห์ที่ซับซ้อนบางครั้งต้องกำหนดสมการอุปสงค์-อุปทานของสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ใช้อธิบายได้ดีในสถานการณ์ที่ไม่ยุ่งยากเกินไปนัก

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ช้างแอฟริกา African Elephant


ลักษณะทั่วไป
เป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลักษณะคล้ายช้างเอเชียจะแตกต่างที่ใบหู ช้างแอฟริกาจะมีใบหูที่ใหญ่มากมีรูปร่างคล้ายพัดทำหน้าที่ช่วยโบกพัดเพื่อระบายความร้อน ผิวหนังมีลักษณะหยาบย่นเป็นรอยอย่างเห็นได้ชัดเจน สีผิวของมันจะไม่เป็นสีดำเหมือนช้างเอเชีย แต่มีสีน้ำตาล เนื่องจากว่าช้างแอฟริกาชอบนอนแช่ปลักโคลน เพราะฉะนั้น สีผิวของมันจึงเปลี่ยนเป็นสีเทา และที่แปลกกว่าช้างเอเชียคือ ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีงาเหมือนกัน ส่วนช้างเอเชียจะมีงาเฉพาะตัวผู้เท่านั้น


ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในทวีปแอฟริกา
ช้างแอฟริกาจะออกหาอาหารทั้งกลางวันและกลางคืน จะใช้เวลาออกหาอาหารและแหล่งน้ำวันละประมาณ 18 - 20 ชั่วโมง อาหารที่ชอบจะเป็นพวกใบไม้สดหรือแห้ง เปลือกไม้ ผลไม้ โดยมีปริมาณในวันหนึ่ง ๆ ถึง 100 - 120 กิโลกรัม กินน้ำประมาณ 80 - 150 ลิตรต่อวัน ซึ่งเมื่อเทียบกับช้างเอเชียแล้ว ช้างแอฟริกาจะกินน้อยกว่า

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ช้างแอฟริกาพร้อมที่จะผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 5-18 ปี ส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ระยะเวลาตั้งท้องนาน 22-24 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกที่เกิดใหม่ ๆ จะมีขนตามตัวยาวมาก แม่จะเลี้ยงลูกไปจนกว่าลูกอายุประมาณ 2-3 ปี ในช่วงนี้ ลูกจะกินนมแม่ไปเรื่อย ๆ พออายุประมาณ 2-3 ปี ลูกช้างจึงจะไปหากินตามลำพัง

ช้างเอเชีย



ช้างเอเชีย (Elephas maximus) มี 3 ชนิดย่อย ได้แก่



1. ช้างศรีลังกา (Elephas maximus maximus) จะมีรูปร่างขนาดใหญ่ สีกายดำ ขนาดใบหูใหญ่และมีสีกระจายมากบริเวณใบหู ใบหน้า งวงและลำตัว มักจะเป็นช้างสีดอหรือไม่มีงา เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติเฉพาะในเกาะซีลอนหรือเกาะลังกา ซึ่งในปัจจุบันเป็นประเทศศรีลังกาเท่านั้น ช้างเอเชียพันธุ์ศรีลังกาตัวผู้ หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็นช้างสีดอ คือไม่มีงาคงมีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ช้างเอเชียพันธ์ศรีลังกาตัวผู้หรือช้างพลายมีงาน้อยมาก ส่วนตัวเมียเหมือนช้งเอเชียพันธุ์อื่นคือไม่มีงาแต่มีขนายเท่านั้น


2. ช้างอินเดีย (Elephas maximus indicus) ขนาดตัวจะเล็กกว่าชนิดแรก สีตามจุดต่างๆ จางกว่า เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียได้แก่ เนปาล ภูฐาน อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียตนาม กัมพูชา แคว้นยูนานประเทศจีน และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยนั้นมีช้างเอเชียพันธุ์อินเดียกระจัดกระจายอยู่ในป่าตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ

3. ช้างสุมาตรา (Elephas maximus sumatranus) มีขนาดตัวเล็กที่สุด สีผิวจางมากที่สุด พบในมาเลเซีย สุมาตรา

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

การอุปสมบท

การอุปสมบท คือการบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือเป็นการตอบแทนพระคุณของบิดามารดา และเป็นการสร้างกุศลอย่างหนึ่ง ทั้งยังเป็นการดำรงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ ผู้ที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จะต้องมีอายุตั้งแต่ ๒๐ ปีขึ้นไป และมีคุณสมบัติครบบริบูรณ์ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะพาไปหา เจ้าอาวาสหรือพระอุปัชฌาย์เพื่อกำหนดวันเวลาในการบวชและฝึกซ้อมการปฏิบัติตนตลอดจนท่องจำ ค่ำขอบรรพชาอุปสมบท นอกจากนี้จะต้องเตรียมจัดหาเครื่องอัฐบริขารไว้ให้พร้อม ได้แก่ บาตร สบง จีวร สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) มีดโกน เข็ม ด้าย ผ้าคาดเอว หม้อกรองน้ำ และจัดเตรียมเครื่องใช้ที่จำเป็น สำหรับผู้บวช เช่น เสื่อ หมอน ขันน้ำ ช้อน ส้อม เป็นต้น
ก่อนบวช ผู้บวชจะนำดอกไม้ธูปเทียนแพใส่พานไปขอสมาลาโทษแก่บรรดาญาติมิตรตลอดจนผู้ที่เคารพ นับถือเพื่อลาบวช เป็นการแสดงความเคารพและเพื่อขอขมาโทษที่เคยมีต่อกัน ก่อนถึงวันงานหนึ่งวันเรียกว่า วันสุกดิบ ผู้บวชจะต้องโกนคิ้ว โกนผม โกนหนวด นุ่งเยียรบับ สวมเสื้อครุยเรียบร้อย ตอนค่ำมีการทำขวัญนาคโดยหมอขวัญจะทำขวัญนาคซึ่งเป็นบทสวดคล้ายเทศน์มหาชาติพรรณนาถึง บุญคุณของพ่อแม่และอานิสงส์ของการบวชให้นาคตลอดจนญาติพี่น้องฟัง เมื่อทำขวัญเสร็จจะมีการ เบิกบายศรีและเวียนเทียนโบกควันให้นาค

รุ่งขึ้นเมื่อถึงวันงานมีการแห่นาคออกจากบ้านไปวัด มีการจัดขบวนแห่กลองยาวเถิดเทิงหรือแตรวงเป็นที่ สนุกสนานครึกครื้น ญาติพี่น้องและผู้ร่วมงานจะช่วยถือเครื่องอัฐบริขารและเครื่องไทยธรรม มารดา อุ้มไตรจีวร บิดาอุ้มบาตรและถือตาลปัตร ส่วนนาคจะเดิน นั่งรถ ขี่คอคน ขี่ช้างหรือม้าก็ได้ เมื่อขวนแห่ถึงวัดแล้วมักแห่เวียนขวารอบพระอุโบสถ ๓ รอบ นาคจะนำดอกไม้ธูปเทียนที่ถือมา เข้าไปบูชาพัทธสีมาหน้าโบสถ์เป็นการสักการะพระประธานในโบสถ์ หลังจากนั้นพ่อแม่จะจูงนาคเข้าไป ในพระอุโบสถ นาครับผ้าไตรจีวรอุ้มเข้าขอพรรพชาเป็นสามเณรต่อพระอุปัชฌาย์แล้ว ออกมาครอบผ้า แล้วจึงเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุต่อ

เกาะหลัก

การตรวจระดับน้ำในประเทศไทยเริ่มมีบันทึกไว้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยการว่าจ้างชาวยุโรปชื่อ มิสเตอร์ มาสเตอร์ (Mr"Master) เมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช 2453 ให้ทำการสร้างสถานีวัดระดับน้ำแบบถาวรขึ้น ที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในตำบลที่ละติจูด 99 องศา 46 ลิปดา ตะวันออก โดยสร้างเสร็จในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เริ่มใช้เครื่องมือเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2453 และทำการตรวจวัดระดับน้ำทะเลขึ้น - ลง อย่างต่อเนื่อง จนถึงเดือนเมษายน พุทธศักราช 2454 รวม เวลาตรวจวัดประมาณ 6 เดือน จากนั้นนำผลที่ได้มาคำนวณหาค่าเฉลี่ย ซึ่งถือเป็นเส้นเกณฑ์หนึ่งเรียกว่าระดับทะเลปานกลาง (Mean Sea Level) และกำหนดให้ระดับทะเลปานกลางมีค่าเป็นศูนย์ จากเส้นเกณฑ์ดังกล่าวและได้ทำการโยงถ่ายค่าไว้ที่หมุดระดับชายฝั่ง ของเกาะหลัก ซึ่งสร้างเป็นรอยบากบนหินทรายและให้ชื่อหมุดระดับนี้ว่า BMA มีค่าสูงกว่าระดับทะเลปานกลางที่ได้คำนวณไว้ 1.4439 เมตร ซึ่งหมุดนีถือว่าเป็นหมุดระดับแรกที่กำหนดให้เป็นเส้นเกณฑ์มาตรฐาน ในการโยงระดับความสูงของประเทศไทย
หลังจากการจัดทำหมุด BMA แล้ว การจตรวจวัดระดับน้ำที่เกาะหลักยังดำเนินต่อไปจนถึงเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2458 รวมระยะเวลาตรวจวัด 5 ปี จึงได้มีการนำเอาค่าระดับน้ำที่บันทึกได้มาคำนาณหาค่าเฉลี่ยใหม่อีกครั้ง ผลที่ได้ปรากฏว่าระดับทะเล ปานกลางใหม่ต่ำกว่าเดิม 0.0038 เมตร ค่าของหมุด BMA จึงเปลี่ยเป็นสูงกว่าระดับทะเลปานกลางที่เกาะหลัก 1.4477 เมตร ระดับทะเลปานกลางใหม่นี้ ได้ใช้เป็นระดับทะเลปานกลาง ของประเทศไทย และจากหมุด BMA นี้ กรมแผนที่ทหารกองบัญชาการ ทหารสูงสุด ได้ทำการโยงระดับถ่ายค่าไปยังหมุดระดับต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อใช้ เป็นพื้นเกณฑ์ ในงานสำรวจแผนที่ทั้งบนบกและ ในทะเล งานวิศวกรรมชายฝั่ง งานก่อสร้างและอื่นๆ หลังจากปีพุทธศักราช 2458 ได้ยกเลิกการตรวจวัดระดับน้ำที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และไม่มีการตรวจวัดระดับน้ำที่อื่นๆอีก
ในปีพุทธศักราช 2482 การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มการตรวจวัดระดับน้ำ ที่เกาะหลักขึ้นมาใหม่ โดยสร้างเรือนสถานีบริเวณชายฝั่งเกาะหลักที่ละติจูด 11 องศา 47 ลิปดา 42 พิลิปดา เหนือ ลองจิจูด 99 องศา 58 ลิปดา 58 ฟิลิปดา ตะวันออก โดยมี เรือเอก สนิท มหาคีตะ สังกัด กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เป็นผู้อำนวยการสร้าง และติดตั้งเครื่องวัดระดับน้ำตราอักษร A.OTT หมายเลข 2841 ซึ่งจัดซื้อจากบริษัท A.OTT Krmpten ประเทศเยอรมันนีในราคา 548.17 บาท เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2481โดยสร้างสถานีวัดระดับน้ำเสร็จเรียบร้อย และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2482 พร้อมกับโอนให้อยู่ในความดูแลของกองสมุทรศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ หลังจากนั้นได้มีการซ่อมปรับปรุงตัวเรือนสถานี เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พุทธศักราช 2491 และวันที่ 14 กรกฎาคม พุทธศักราช 2504

ต่อมาได้สร้างเรือนสถานีใหม่ทดแทนของเดิม เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พุทธศักราช 2522 และติดตั้ง เครื่องวัดระดับน้ำชนิดทำงานด้วยการเปลี่ยนแปลงความกดดันน้ำ (Pressure Tide Gauge) เพิ่มอีกระบบหนึ่งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2548

ทะเลแหวก UNSEEN IN THAILAND





ทะเลแหวก เป็นเกาะ 3 เกาะเด่น เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำลดลงต่ำสุดในแต่ละวัน เหมือน
ทะเลแหวกออกจากกันจนกลายเป็นหาดทรายขาว โดยเชื่อมกันทั้งสามเกาะอย่างน่า
อัจศจรรย์ โดยจะเกิดเฉพาะในวันก่อนและหลังวันขึ้น 15 ค่ำ ราว 5 วัน ช่วงฤดูกาล
ท่องเที่ยวคือช่วงเดือน ธันวาคม ถึงต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี ด้วยหาดทรายที่
ขาวสะอาด ทอดยาว ความสวยงามของทั้งสามเกาะนี้นับเป็น UNSEEN IN THAILAND
อีกแห่งหนึ่งของป่ระเทศไทย นอกจากนี้ที่เกาะไก่ และเกาะทับเป็นจุดดำน้ำตื้นที่น่าชม
โดยเกาะไก่เป็นจุดดำน้ำอยู่ที่บริเวณด้านทิศตะวันตก และที่เกาะทับมีแนวปะการัง
ที่สวยงามอยู่ทางด้านทิศตะวันออก

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

· เริ่มสวด นโม 3 จบ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะนะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
· นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐานปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
· เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร
1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณโกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโลกัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโรนิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
7. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโกโส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลีเถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกาเอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสาชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกังธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
12. ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตาวาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสาวะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโขชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโวธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆสังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโยสัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

กล่องดำ

กล่องดำ แท้จริงมีอยู่หลายสี ไม่เฉพาะสีดำ สีที่เห็นกันบ่อย คือสีส้ม เพื่อให้ค้นหาง่ายหากเครื่องบินตก แต่ไม่นิยมเรียกว่า กล่องส้ม จะรวมๆ เรียกว่า กล่องดำ ซึ่งอาจมีที่มาจากคำว่า Black Box ที่หมายถึงกล่องซึ่งเราไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ในนั้น หรือกล่องปริศนานั่นเอง
เครื่องบินแต่ละลำจะมีกล่องดำ 2 กล่องกล่องหนึ่งใช้บันทึกข้อมูลการบิน สภาพอากาศ ความเร็ว ระดับความสูง การเร่งผ่อนคันบิดปิดเปิดน้ำมัน แรงขับของเครื่อง และตำแหน่งของปีก
อีกกล่องบันทึกเสียงสนทนาในห้องนักบิน การติดต่อระหว่างนักบินกับหอบังคับการบิน เสียงของลูกเรือที่เข้ามาในห้องนักบิน โดยจะเริ่มบันทึกตั้งแต่นักบินติดเครื่องไปจนถึงดับเครื่อง
เวลาเครื่องบินตก กล่องดำมักไม่เสียหาย เพราะตำแหน่งที่ติดตั้งจะอยู่ส่วนหางของเครื่องบิน ซึ่งเป็นบริเวณที่แข็งแรงและได้รับผลกระทบกระเทือนน้อยที่สุดเวลาเครื่องบินตก
นอกจากนี้ ตัวกล่องยังแข็งแรง ทนแรงกระแทกแรงระเบิด ทนน้ำ ทนไฟ เพราะประกอบด้วยวัสดุ 3 ชั้น ชั้นในสุดทำจากแผ่นอะลูมิเนียมบางๆ ห่อหุ้มอุปกรณ์บันทึกข้อมูลไว้ ชั้นที่สองเป็นฉนวนทนความร้อน และชั้นที่สามทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิมทนความร้อนสูง
โลกเริ่มมีการนำกล่องดำมาใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2493